เมนู

[ว่าด้วยอัพโพหาริกนัยโดยทั่ว ๆ ไป]


บัดนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวอัพโพหาริกนัยต่อไป:- จริงอยู่ เมื่อภิกษุทั้ง
หลายฉันอยู่ ฟันทั้งหลายย่อมสึกหรือ, เล็บทั้งหลาย ย่อมสึกกร่อน สี (ผิว)
บาตรย่อมลอก, ทั้งหมดเป็นอัพโพหาริก. เมื่อภิกษุปอกอ้อยเป็นต้นด้วยมีด
สนิมย่อมปรากฏ. สนิมนั้น ธรรมดาเป็นของเกิดขึ้นใหม่ ควรรับประเคนก่อน
จึงฉัน. เมื่อภิกษุล้างมีดแล้วจึงปอก สนิมไม่ปรากฏ, มีแต่สักว่ากลิ่นโลหะ,
เพียงกลิ่นโลหะนั้น เป็นอัพโพหาริก. ถึงแม้ในจำพวกของที่ผ่าด้วยมีดเล็กที่
พวกภิกษุเก็บรักรักษาไว้ ก็นัยนี้นั่นแล. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายจะเก็บมีดนั้น
ไว้เพื่อต้องการใช้สอย ก็หามิได้แล.
เมื่อภิกษุทั้งหลายบด หรือตำอยู่ซึ่งเครื่องยา มีรากยาเป็นต้น ตัว
หินบด ลูกหินบด ครก และสากเป็นต้น ย่อมสึกกร่อนไป. ภิกษุทั้งหลาย
จะเผามีดที่เก็บรักษาไว้ แล้วใส่ลงในเปรียง หรือนมสดเพื่อประโยชน์เป็นยา
สีเขียวย่อมปรากฏในเปรียง หรือนมสดนั้น. มีวินิจฉัยเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้ว
ในมีดเล็กนั่นแหละ. ส่วนในเปรียงดิบเป็นต้น ไม่ควรจุ่มมีดที่เก็บไว้ลงไปด้วย
ตนเอง หากว่า ภิกษุจุ่มลงไป ย่อมไม่พ้นสามปักกะ.
เมื่อภิกษุเที่ยวบิณฑบาตในเมื่อฝนตก น้ำสกปรกหยดจากตัวหรือจาก
จีวรลงในบาตร พึงรับประเคนบาตรนั้นใหม่ แม้ในหยาดน้ำที่ตกลง เมื่อ
ภิกษุกำลังฉันอยู่ที่โคนต้นไม้เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าว่า เมื่อฝนตก
ตลอด 7 วัน เป็นน้ำบริสุทธิ์ หรือน้ำฝนที่ตกกลางแจ้งควรอยู่.
ภิกษุเมื่อจะให้ข้าวสุกแก่สามเณร พึงให้อย่าถูกต้องข้าวสุกที่อยู่ใน
บาตรของสามเณรนั้นเลย, หรือว่า พึงรับประเคนบาตรของสามเณรนั้น. เมื่อ
ภิกษุถูกต้องข้าวสุกในบาตรที่ไม่ได้รับประเคน แล้วจับข้าวสุกในบาตรของตน

อีก ข้าวสุกเป็นอุคคหิตก์.* แต่ถ้าว่าภิกษุเป็นผู้มีความประสงค์จะให้ กล่าวว่า
แน่ะสามเณร ! เธอจงนำบาตรมา, จงรับเอาข้าวสุก ดังนี้, แต่สามเณรนั้น
ปฏิเสธว่า กระผมพอแล้ว, และแม้เมื่อภิกษุกล่าวอีกว่า ข้าวสุกนั่นเราสละ
แก่เธอแล้ว สามเณรยังกล่าวว่า กระผมไม่ต้องการข้าวสุกนั่น ดังนี้, ถึงจะ
สละตั้งร้อยครั้งก็ตามที ตลอดเวลาที่ข้าวสุกยังอยู่ในมือของตนจัดว่าเป็นของ
รับประเคนแล้วแล.
แต่ถ้าว่า ข้าวสุกตั้งอยู่แม้บนเชิงรองบาตร ภิกษุไม่มีความเสียดาย
กล่าวว่า. เธอจงรับเอาไป, ต้องรับประเคนใหม่ ถ้าภิกษุยังมีความเสียดายอยู่
วางบาตรไว้บนเชิงรองบาตร แล้วกล่าวกะสามเณรว่า เธอจงรับเอาขนมหรือ
ข้าวสวยจากบาตรนี้ ดังนี้, สามเณรล้างมือแล้ว ถ้าแม้นว่าถือเอาไปตั้งร้อยครั้ง
ไม่ถูกต้องของที่อยู่ในบาตรของตนเลยใส่ลงในบาตรของตนเอง, ไม่มีกิจที่จะ
ต้องรับประเคนใหม่. แต่ถ้าสามเณรถูกต้องของที่อยู่ในบาตรของตนหยิบเอา
ออกจากบาตรนั้น, ของนั้นย่อมระคนกับของ ๆ สามเณรพึงรับประเคนใหม่.
แต่เกจิอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ถ้าแม้นว่า ของที่สามเณรหยิบเอาอยู่
ขาดตกลงในบาตรนั้น พึงรับประเคนใหม่. คำนั้นบัณฑิตพึงทราบในก้อนข้าว
สุกเป็นต้น ที่ภิกษุกล่าวจำกัดไว้อย่างนี้ว่า เธอจงหยิบ เอาก้อนข้าวก้อนหนึ่ง, จง
หยิบขนมชิ้นหนึ่ง, จงหยิบเอาส่วนเท่านี้แห่งก้อนน้ำอ้อยนี้. ส่วนในคำนี้ว่า
เธอจงหยิบเอาขนมหรือข้าวสวยจากบาตรนี้ ไม่มีการจำกัด; เพราะฉะนั้น ของ
ที่ตกลงในบาตรของสามเณรเท่านั้น จึงจะขาดประเคน. ส่วนข้าวสวยที่อยู่ใน
มือ (ของสามเณร) ยังเป็นของภิกษุนั้นเองตลอดเวลาที่สามเณรยังไม่บอกงด
หรือภิกษุยังไม่ห้ามว่า พอละ, เพราะฉะนั้น จงยังไม่ขาดประเคน.
ถ้าภิกษุใส่ข้าวสวยลงในภาชนะสำหรับต้มข้าวต้มของตน หรือของ
ภิกษุทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุสามเณรบางพวก พึงกล่าวว่า แน่ะสามเณร !
* ของฉันทุกอย่างที่ยังไม่ได้รับประเคน ภิกษุจับต้องเรียกว่า ของเป็นอุคคหิตก์, ผู้ชำระ.

เธอจงวางมือไว้ข้างบนภาชนะ แล้วตักลงที่มือของสามเณรนั้น. ของตกจากมือ
ของสามเณรลงในภาชนะ. ของที่ตกนั้น ย่อมไม่ทำให้ภาชนะเป็นอกัปปิยะใน
วันรุ่งขึ้น เพราะข้าวสุกนั้น ภิกษุสละแล้ว. ถ้าว่าภิกษุไม่ทำอย่างนั้นตักลงไป,
พึงทำภาชนะให้ปราศจากอามิสเหมือนบาตรแล้วฉันเถิด.
พวกทายกวางหม้อข้าวต้มไว้แล้วไปเสีย. สามเณรเล็กไม่อาจให้ภิกษุ
รับประเคนหม้อข้าวต้มนั้นได้, ภิกษุเอียงบาตรเข้าไป. สามเณรวางคอหม้อ
บนขอบปากบาตรแล้ว เอียงลง. ข้าวต้มทำไหลไปในบาตรเป็นอันประเคนแล้ว
แล. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุวางมือลงบนพื้น. สามเณรหมุนไปวางลงบนมือของ
ภิกษุนั้น ควรอยู่. แม้ในกระเช้าขนมกระเช้าข้าวสวย (กระบุงขนมและกระบุง
ข้าวสวย) และมัดอ้อยเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ถ้าสามเณร 2 - 3 รูป จะ
ช่วยกันถวาย ภาระ (ของหนัก) ที่ควรประเคนได้, หรือภิกษุ 2-3 รูปจะช่วย
กันรับของที่คนมีกำลังแข็งแรงคนเดียวยกขึ้นถวาย ควรอยู่.

[ว่าด้วยของเป็นอุคคหิตก์และ ไม่เป็น]


ชนทั้งหลายแขวนหม้อน้ำมัน หรือหม้อน้ำอ้อยไว้ที่เท้าเตียงหรือตั่ง,
ภิกษุจะนั่งบนเตียงก็ดี บนตั่งก็ดี ควรอยู่ น้ำมัน เป็นต้นนั้น จะชื่อว่าเป็น
อุคคหิตก์หามิได้. หม้อน้ำมัน 2 หม้อเป็นของที่เขาแขวนไว้บนไม้ฟันนาค
หรือบนขอ. หม้อบนรับประเคนแล้ว, หม้อล่างยังไม่ได้รับประเคน, จะจับ
หม้อบน ควรอยู่. หม้อล่างรับประเคนแล้ว, หม้อบนยังไม่ได้รับประเคน.
เมื่อภิกษุจับหม้อบนแล้ว จับหม้อล่าง หม้อบน เป็นอุคคหิตก์. ภายใต้เตียงมี
ถ้วยน้ำมันยังไม่ได้รับประเคน. ถ้าภิกษุกวาดเอาไม้กวาดกระทบถ้วยน้ำมัน, น้ำ
มันนั้นยังไม่เป็นอุคคหิตก์.